บทความ

รูปภาพ
ประวัติ วันวาเลนไทน์  (Valentine's Day) เทศกาลวาเลนไทน์  ( Valentine's Day )  เริ่มมีขึ้น ตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ ในยุคนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกจัดให้เป็น วันหยุด เพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโนผู้เป็น จักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจาก นี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่ง อิสตรีเพศและการ แต่ง งานและในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นวันเริ่มต้นเทศกาล เฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย การดำเนินชีวิตของหนุ่มสาวจะ ถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่ง กรุงโรม พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การ ทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและ  แต่งงาน กันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยค

ความเป็นมาของวันช้างไทย

รูปภาพ
วันช้างไทย  ริเริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ถ ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำ ยุทธหัตถี  มีชัยชนะเหนือ พระมหาอุปราชา  แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวัน กองทัพไทย ไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ ช้างเผือก เป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศไทย นั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่ คณะรัฐมนตรี  โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ  26 พฤษภาคม   พ.ศ. 2541  เห็นชอบให้ วันที่  13 มีนาคม  ของทุกปี เป็น  วันช้างไทย และได้ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ  29 พฤษภาคม   พ.ศ. 2541 ลงใน ร

วันมาฆบูชาก็ใกล้เข้ามาถึงแล้วครับ

รูปภาพ
ประวัติวันมาฆบูชา มูลเหตุ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็น วันสำคัญ ของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย มีผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง 1,250 องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อ

รูปภาพgif

รูปภาพ
รูปภาพ
ประวัติวันตรุษจีน  หรือปีใหม่จีน       ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี พิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีนนั้น มีมานานกว่าศตวรรษ (100 ปี) จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร       ตรุษจีนนั้นเป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น  การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน   การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูกทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูกประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืน เป็นต้น ที่มาของวันตรุษจีน  เกิดจากการจัดขึ้น เพื่อตั้งใจที่จะฉลองฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนนั้น ประเทศจีนปกคลุมไปด้วยหิมะ จึงไม่สามารถทำการเกษตรได้